กสิกรไทย ฟันธงขึ้นค่าแรงดันต้นทุนพุ่ง แนะทางรอดเอกชน เร่งเพิ่มศักยภาพแรงงาน

สถานการณ์ตลาดแรงงานในช่วงนี้และระยะข้างหน้ามีความซับซ้อน โดยการขาดแคลนแรงงานทั้งแรงงานพื้นฐานและแรงงานฝีมือในธุรกิจต่าง ๆ จะยิ่งท้าทายมากขึ้น เนื่องจากไทยเป็นสังคมสูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงทักษะแรงงานที่มีอยู่ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่สอดคล้องไปกับความต้องการแรงงานที่เปลี่ยนไป ตามพลวัตทางธุรกิจและการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งค่าตอบแทนและสวัสดิการแรงงานก็คงจะต้องมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น

ทั้งนี้การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เป็นหนึ่งในมาตรการที่ช่วยลูกจ้างให้มีความสามารถในการใช้จ่ายได้มากขึ้นท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงในปัจจุบัน ทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

 กสิกรไทย ฟันธงขึ้นค่าแรงดันต้นทุนพุ่ง แนะทางรอดเอกชน เร่งเพิ่มศักยภาพแรงงาน

เช็กที่นี่! ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 17 สาขา ระดับ 1 สูงสุด 585 บาท คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

มุมมองนายจ้าง ผ่านโยบายค่าแรงขั้นต่ำ แก้ปัญหาค่าครองชีพ?

ขณะเดียวกันก็ทำให้นายจ้างมีต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งตามนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ มีแนวทางจะดำเนินมาตรการนี้ ซึ่งต่างกันที่ระดับและจังหวะเวลา ดังนั้นเป็นที่คาดว่า รัฐบาลชุดใหม่จะเดินหน้าปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจากปัจจุบันอยู่ที่เฉลี่ย 337 บาท/วัน ทั้งประเทศ (แต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน) สอดรับกับฝั่งแรงงานที่คาดหวังว่าจะได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจเอกชนที่ใช้แรงงานจำนวนมากให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่การจ่ายค่าตอบแทนแรงงานอิงกับค่าแรงขั้นต่ำในสัดส่วนสูง เช่น ภาคเกษตร ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ก่อสร้าง บริการด้านอื่น ๆ รวมถึงงานในครัวเรือนส่วนบุคคลเป็นต้นโดยกรณีที่ค่าแรงขั้นต่ำถูกปรับเพิ่มราว 30% และนายจ้างจะต้องปรับค่าตอบแทนแรงงานส่วนอื่นที่ไม่ได้อิงกับค่าแรงขั้นต่ำ ตามเกณฑ์ปกติ เช่น 5%

นอกจากนี้ พบว่า ต้นทุนแรงงานของภาคเอกชนเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 16% หากแยกตามประเภทธุรกิจ ธุรกิจเกษตร ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ก่อสร้าง บริการด้านอื่น ๆ รวมถึงงานในครัวเรือนส่วนบุคคล จะมีต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นจากเดิม 18-28% เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้มีสัดส่วนลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือนต่อลูกจ้างทั้งหมด สูงกว่าภาคเอกชนเฉลี่ย

สำหรับผลสุทธิต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ จะขึ้นอยู่กับทั้งฝั่งรายได้และต้นทุนอื่น ๆ ว่ามีแนวโน้มเป็นเช่นไร รวมถึงความยืดหยุ่นในการปรับตัวว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่น ความสามารถในการสร้างรายได้และการบริหารจัดการต้นทุน การปรับราคาขายสินค้าและบริการ เป็นต้น ซึ่งแต่ละธุรกิจและแต่ละกิจการจะมีสถานะที่แตกต่างกันไปตามหน้าตักของตนเอง

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (ความสามารถในการทำงาน) ให้ได้ในอัตราที่มากกว่าและเร็วกว่าการเพิ่มของต้นทุนแรงงาน จะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้ภาคธุรกิจเอกชนสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งหากรัฐบาลเป็นผู้ผลักดันให้มีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ก็ควรเข้ามาช่วยรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานนี้ รวมถึงมีมาตรการสนับสนุนสำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีความเปราะบางให้สามารถข้ามผ่านสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ไปด้วยกัน นอกจากนี้ ควรพิจารณาสร้างกลไกหรือแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพแรงงานอย่างต่อเนื่องในช่วงข้างหน้า

You May Also Like

More From Author