นายคณิสสร์ ศรีวัชรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็กซ์ พอทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX เปิดเผยว่า มีแผนผลิตรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (รถเมล์ EV) เพื่อส่งมอบให้ผู้ประกอบการนำไปให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 3,195 คัน ปัจจุบันได้ส่งมอบไปแล้วกว่า 600 คัน โดยในปี 65 ตั้งเป้าหมายจะต้องส่งมอบขั้นต่ำ 1,250 คัน ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม และจะทยอยส่งมอบส่วนที่เหลือให้ครบทั้งหมดภายในปี 66
ทั้งนี้ รถเมล์ไฟฟ้าที่ส่งมอบดังกล่าวนั้น เป็นรถขนาด 11 เมตร มี 31 ที่นั่ง บรรทุกผู้โดยสารได้ 80 คนต่อคัน โดยมีต้นทุนคันละประมาณ 6.8-7 ล้านบาท ใช้เวลา 1 ชมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง สามารถวิ่งให้บริการได้ระยะทาง 300-350 กิโลเมตร (กม.) โดยบริษัทจะต้องติดตั้งสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าต้นทาง-ปลายทางด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายคณิสสร์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันในปี 66 บริษัทมีแผนผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (รถ EV) ทุกประเภท จำนวนไม่ต่ำกว่า 5,000 คัน หลังมีผู้ประกอบการหลายรายสั่งจองรถอีวีมาแล้วจำนวน 9,000 คัน ประกอบด้วย รถเมล์ไฟฟ้า รถตู้ไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า ขนาด 6 ล้อและขนาด 10 ล้อ โดยเริ่มทยอยส่งมอบให้ผู้ประกอบการนำไปให้บริการภายในเดือน ม.ค. 66 คาดส่งมอบรถครบทุกออร์เดอร์ภายในปี 66 ส่วนการขยายโรงงานผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (รถ EV) แห่งที่ 2 ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ทิศทางตลาดยานยนต์พลังงานไฟฟ้าก่อน
บริษัทมองว่าทิศทางตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง 1 ในอุตสาหกรรมที่มีการฟื้นตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เชื่อว่าการนำยานยนต์มาใช้ถือเป็นเรื่องดี หากภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ สามารถช่วยลดต้นทุนยานพาหนะและต้นทุนด้านพลังงานได้ จะทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและภาพลักษณ์ของประเทศ
นายคณิสสร์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ประเทศมาเลเซียมีความสนใจนำรถเมล์ไฟฟ้าของบริษัทไปให้บริการในประเทศนั้น ขณะนี้บริษัทได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับมาเลเซียแล้ว อยู่ระหว่างรอมาเลเซียแจ้งออเดอร์คำสั่งซื้อรถเมล์ไฟฟ้าประมาณ 100 คัน นอกจากนี้บริษัทเตรียมส่งมอบรถหัวลากไฟฟ้าให้กับประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 500 กว่าคัน ปัจจุบันญี่ปุ่นมีแผนต้องการเปลี่ยนรถหัวลากไฟฟ้าแทนการใช้รถหัวลากจากน้ำมันดีเซล คาดว่าเริ่มส่งมอบรถให้ญี่ปุ่นได้ภายในช่วง เม.ย.-มิ.ย. 66 ขณะเดียวกันมีผู้ประกอบการประเทศฟิลิปปินส์ ที่ให้ความสนใจการนำรถเมล์ไฟฟ้าไปใช้บริการด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องรอดูประเทศฟิลิปปินส์ว่า จะสนใจร่วมลงนามสัญญาหลังจากเข้าดูโรงงานของบริษัทแล้วหรือไม่
ส่วนแผนการเปิดเส้นทางเดินรถรถโดยสารขนาดเล็ก (มินิบัส) ขนาด 7.3 เมตร จำนวน 20 ที่นั่ง ระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตร (กม.) ในเส้นทางที่ให้บริการในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development : EEC) ปัจจุบันได้ขอใบอนุญาตเส้นทางเดินรถและทยอยบรรจุรถในเส้นทางบางส่วน โดยเปิดให้บริการแล้ว คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-ศรีราชา จำนวน 20 คัน, กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา 20 คัน หลังจากนั้นมีแผนขยายเส้นทางเดินรถเพิ่มเติมอีก 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-ชลบุรี 10-20 คัน และกรุงเทพฯ-ระยอง 10-20 คัน คาดเริ่มดำเนินการได้ภายใน ม.ค.-มี.ค. 66
นายคณิสสร์ กล่าวอีกว่า สำหรับรถมินิบัสมีต้นทุนคันละ 3 ล้านกว่าบาท ใช้เวลา 1 ชม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง สามารถวิ่งให้บริการได้ระยะทาง 200 กม. อยู่ระหว่างการพัฒนาให้สามารถใช้เวลาชาร์จสั้นลงเหลือ 15 นาที โดยบริษัทติดตั้งสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าต้นทาง-ปลายทางให้เรียบร้อยตามแผน 1,700 แห่งทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการหารือร่วมกับไบเทคบางนาในการตั้งสถานีชาร์จรถพลังงานไฟฟ้าและสถานที่จอดรถ รวมทั้งจุดจอดรับส่งผู้โดยสาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ คาดจะให้บริการได้ภายในปี 66 ซึ่งจะให้บริการช่วงต้นทางที่ไบเทคบางนา จากเดิมที่รถโดยสารที่ให้บริการเส้นทางไปยังพื้นที่ EEC โดยต้องขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย และสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 เท่านั้น ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งให้ผู้โดยสารที่สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสมาลงที่สถานีบางนา แล้วสามารถนั่งรถมินิบัสเดินทางไปยังพื้นที่ EEC ได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น